** เตรียมตัวก่อนไปญี่ปุ่น **
วันนี้มาเน้นกันที่สาระล้วนๆ (จริงหรา ??)
ก่อนที่เราจะมาดูรีวิวเต็มๆ ของทริปตะลุยญีปุ่นที่ผ่านมาของแฟนพาเที่ยว
เรามารู้ข้อมูลเบื้องต้นกันก่อนดีกว่า ว่าการไปญี่ปุ่นเราต้องรู้อะไรบ้าง ต้องเตียมตัวยังไง
วางแผนยังไงบ้าง และอะไรบ้างที่ห้ามลืม
นุ้ยจะมาเรียงลำดับให้เป็นข้อๆ เนอะ
แต่สำหรับใครที่ขี้เกียจอ่าน ดูคลิปโลด (สาระมีบ้างหรือเปล่า ต้องดูเอง )
[embedyt] http://www.youtube.com/watch?v=ztfhdEAA7UU[/embedyt]
1. ไปช่วงไหนดีน๊า (ฤดูกาลของญีปุ่น)
ญีปุ่นจะมีทั้งหมด 4 ฤดู ได้แต่ ฤดูใบไม้ผลิ / ฤดูร้อน / ฤดูใบไม้ร่วง / ฤดูหนาว
ซึ่งในแต่ละฤดู จะมีเสน่ห์ และสภาพอากาศที่ต่างกันออกไป อย่างเช่น
ฤดูใบไม้ผลิ จะเป็นช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม ซากุระ เป็นเจ้าหญิงของฤดูกาลนี้เลย ซึ่งเดือนเมษายน พฤษภาคม เป็นช่วงที่อากาศดีที่สุดของปี
ฤดูร้อน จะเป็นช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม เป็นฤดูกาลแห่งสีสันของต้นไม้ใบหญ้า และดอกไม้ที่บานสะพรั่ง ไม่ว่าจะเป็นทุ่งมอส ดอกลาเวนเดอร์ ทิวลิป
ฤดูใบไม้ร่วง จะเป็นช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน เป็นฤดูกาลที่มหัศจรรย์มากๆ สำหรับนุ้ย ใบไม้ที่เคยเขียว เปลี่ยนสีหลากหลาย ทั้งเหลืองแดงส้ม และยังมีสภาพอากาศที่หนาวเย็น
ฤดูหนาว จะเป็นช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ ความหนาวเริ่มเข้ามาเยือนมาเยือนแบบจริงจัง เสน่ห์ของหิมะ มาพร้อมกับแสงไฟที่ประดับตอนรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่
2. จองตั๋วที่ไหนดี บินกับอะไร ถึงจะคุ้ม
เมื่อเรารู้ช่วงเวลา และฤดูกาลที่เราอยากจะไปแล้ว หากเราค่อนข้างมั่นใจว่า ช่วงเวลานั่นเป็นช่วงเวลาที่เราได้ไปชัวร์
นั่งเฝ้านั่งรอตั๋วโปรกันได้เลย มันจะทำให้เราประหยัดไปได้เยอะ
แต่สำหรับนุ้ย นุ้ยหยุดจองตั๋วโปรแบบข้ามปีมาพักใหญ่ เพราะบ่อยครั้งมากที่ต้องทิ้งตั๋วบ่อยมาก
แต่นุ้ยมีตัวช่วยคะ โดยการจองผ่านแอพของ Jetradar เพราะแม้จองแบบใกล้ๆ กระชั้นชิด ก็มีตั๋วราคาถูกออกมาให้จับจอง
หน้าตาของแอพ Jetradar ก็ประมาณนี้ ใช้งานง่ายมาก มีฟั่งชั่น ให้เราเลือกตั๋วได้แบบถูกใจมาก
หรือถือใครไม่ถนัดแบบแอพพลิเคชั่น ก็ลองดูผ่านเว็บไซต์ก็ได้นะคะ
หลายคนสงสัยว่า Jetradar คืออะไร ไม่เคยรู้จักมาก่อน
Jetradar คือแอพฯ หรือเว็บที่ช่วยให้เราจองตั๋วเครื่องบินได้ง่ายขึ้น โดยรวบรวมราคาของทุกสายการบิน
และทุกเอเจซี่ มาไว้ที่เดียวกัน เพื่อให้เราเปรียบเทียบราคาที่ดีที่สุด
โดยที่ไม่ต้องเข้าไปเช็คทุกเว็บของสายการบิน และเอเจนซี่หลายๆ เจ้า
เพราะรวมไว้ที่นี้ที่เดียวแล้ว
สามารถดาวน์โหลด แอพพลิเคชั่นกันได้ผ่าน ลิงค์นี้เลยคะ
iOS App https://goo.gl/KSkgVP
Android App https://goo.gl/am2Giy
เว็บไซต์ https://goo.gl/Rwat3h
แล้ววิธีการเลือก สายการบินเลือกยังไง เพราะมีทั้งแบบบินตรง และพักเครื่อง
เหตุผลต้นๆ เลยสำหรับนุ้ยคือเรื่องราคา เพราะเราไม่ได้แบบมีเงินเหลือเฟือมากมายนัก
ขอเก็บเงินไว้กิน ไว้จ่ายค่าที่พักดีกว่า
นุ้ยจึงเลือกบินแบบพักเครื่อง เพราะราคาถูกกว่าบินตรง ไปกลับ หลายพันเลยทีเดียว
โดยนุ้ยบิน 2 คน ประหยัดไปได้เยอะมาก และการได้สายการบินที่ Full Service แต่ราคาประหยัดจะเริ่ดมาก
เพราะทำให้เราสบายขึ้น มีอาหารทาน ที่นั่งกว้างกว่า บริการดีกว่า นุ้ยจึงเลือกบินกับ ฮ่องกงแอร์ไลน์
แต่ถ้าหากใคร มีเวลาน้อย วันลามีไม่เยอะ ก็อาจจะต้องยอมจ่ายเพิ่มขึ้นอีกนิด เพื่อบินตรง ถึงปลายทางได้เร็วขึ้น
.
3. รถไฟต่างๆ เราจะนั่งถูกมั๊ยหนอ ?
บอกเลยว่าตอนแรกของการวางแผนเที่ยว นุ้ยเครียดกับเรื่องนี้มากๆ เพราะดูรูปสายรถไฟแล้ว แทบช็อค
ทำไมมันเยอะแยะมากมายขนาดนั้น แล้วยังจะมีพาส อะไรก็ไม่รู้มากมายเต็มไปหมด
นุ้ยก็เลยมานั่งมองให้แคบลงด้วยการไม่มองทั่วทั้งประเทศ เลือกเอาแค่โซนที่เราจะเที่ยว
ทริปนี้นุ้ยเที่ยวเฉพาะโตเกียว และเมืองรอบๆ แค่ไม่กี่เมือง
แล้วก็แพลนดูว่าเราจะไปเที่ยวที่ไหนบ้าง นุ้ยขอสรุปแบบคร่าวๆ และเข้าใจง่ายๆ ตามแบบของนุ้ยนะคะ
บริษัทที่หลัก ๆ ที่ได้ยินเชื่อบ่อยๆ คือ JR ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้ใหญ่ที่สุด ในการให้บริการ
และตามด้วย Tokyo Metro ซึ่งถ้าหากเราไปเที่ยวโตเกียว แน่นอนว่า 2 บริษัทนี้เราต้องได้ใช้งานแน่ๆ
สำหรับคนที่จะไปเมืองรอบ ๆ โตเกียวแนะนำให้ลองดูพาสของ JR TOKYO Wide Pass
เป็นพาสที่ใช้สำหรับเดินทางท่องเที่ยวรอบๆโตเกียวแบบไม่จำกัดการเดินทางด้วยรถไฟแบบต่างๆไม่ว่าจะเป็น
ชินคันเซ็น รถด่วนพิเศษ หรือรถไฟธรรมดาก็ตาม แล้วยังสามารถใช้ขึ้นรถไฟเอกชนในบางสายได้อีกด้วย
ที่สำคัญคือคุ้มค่าคุ้มราคา
ผู้ใหญ่: 10,000 เยน (อายุ 12 ปีขึ้นไป)
เด็ก: 5,000 เยน (อายุ 6 – 11 ปี)
– ใช้งานได้ 3 วันต่อเนื่องนับตั้งแต่วันแรกที่ใช้
เส้นทางและสายรถไฟที่สามารถใช้ JR TOKYO Wide Pass ได้
-
- JR East Lines ตลอดสาย
- Tokyo Monorail ตลอดสาย
- Izu Kyuko Line ตลอดสาย
- Fujikyu Railway ตลอดสาย
- Joshin Dentetsu Line ตลอดสาย
- Saitama New Urban Transit Line (New Shuttle) – between Omiya and the Railway Museum• JR East lines and Tobu Railway lines: the Nikko, the SPACIA Nikko, the Kinugawa, and the SPACIA Kinugawa พื้นที่ที่ขยายเพิ่มเติม เมื่อเทียบกับ JR Kanto Area Pass:
- Joetsu Shinkansen ใช้เดินทางไป GALA-Yuzawa ได้ (หมายเหตุ สำหรับการเดินทางระหว่างสถานี Echigo Yuzawa และสถานี GALA Yuzawa นั้น ใช้บัตรนี้ได้เฉพาะระหว่างวันที่ 19 ธันวาคม 2015 ถึง 8 พฤษภาคม 2016 เท่านั้น)
- Tokyo Waterfront Area Rapid Transit Rinkai Line (ไปโอไดบะได้)
ตัวอย่างสถานที่เที่ยวในภูมิภาคคันโตที่สามารถเดินทางไปเที่ยวชมโดยใช้บัตร “JR TOKYO Wide Pass” ได้ เช่น
- บ้านเมืองอันทันสมัยในกรุงโตเกียว
- ภูเขาไฟฟูจิ ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกและมีธรรมชาติที่สวยงาม
- Kamakura (คามะคุระ) วัดพระใหญ่ (ปิดบรูณะอง์พระใหญ่ระหว่างวันที่ 13 มกราคม – 10 มีนาคม 2016 หลังจากนั้นเปิดปกติ)
- พักผ่อนเมืองตากอากาศที่ Karuizawa (คะรุอิซาวะ) พร้อมแหล่งช็อปปิ้งเป็นเอาท์เลทขนาดใหญ่
- Yokohama (โยโกฮามะ) เป็นเมืองท่าเรือและทันสมัยห่างจากโตเกียวเพียง 30 นาที
- Chiba (ชิบะ) ที่ตั้งของดิสนีย์รีสอร์ทและนาริตะ
- Nikko (นิกโก้) วัดที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกพร้อมน้ำตกและทะเลสาบ
- Nagano (นากาโนะ) จังหวัดที่มีทิวทัศน์ที่สวยงามและอนเซ็นติดอันดับได้แก่ Kusatsu Onsen (คุซัทสึ อนเซ็น) เป็นอนเซ็นที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในญี่ปุ่น
- และอื่นๆอีกมากมายตามรายชื่อสถานทีที่ครอบคลุมในแผนที่ข้างต้น
สถานที่จำหน่าย
- Narita Airport Terminal 1
- Narita Airport Terminal 2-3
- Haneda Airport International Terminal
- สถานี JR ต่อไปนี้ Tokyo, Shinagawa, Ueno, Shinjuku, Shibuya, Ikebukuro, Yokohama, MIto
และ Pass อีก Pass หนึ่งที่นุ้ยอยากแนะนำมาก เพราะคุ้มเว่อร์วัง คือ Tokyo Subway
เหมาะมากสำหรับการใช้เดินทางใน โตเกียว และเป็นพาสที่ประหยัดสุดๆ และครอบคลุมพื้นที่ท่องท่องเกือบทุกจุด
โดยมีให้เลือก 3 แบบคือ 24 ชั่วโมง / 48 ชั่วโมง และ 72 ชั่วโมง
ราคาตามนี้
Tokyo Subway 1-Day Ticket – Adult: 800 yen, Child: 400 yen
Tokyo Subway 2-Day Ticket – Adult: 1,200 yen, Child: 600 yen
Tokyo Subway 3-Day Ticket – Adult: 1,500 yen, Child: 750 yen
นี่คือแผนที่ของ Tokyo Subway ซึ่งเราสามารถใช้ได้ไม่จำกัดจำนวนเที่ยว ของ 2 บริษัทคือโตเกียวเมโทรและรถไฟ Toei
ภายในระยะเวลาที่กำหนดของพาสนั่นๆ โดยนับตามจำนวนชั่วโมง
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.tokyometro.jp/th/ticket/value/travel/index.html
แต่เพื่อความสะดวก ไม่ต้องไปมองหาว่าต้องไปซื้อที่ไหนยังไง นุ้ยขอแนะนำเราสามารถจองผ่านเว็บไปเลย
เพราะจะทำให้เราสะดวกขึ้นมาก และครั้งนี้นุ้ยจองผ่าน https://www.kkday.com/en
หน้าตาเว็บจะประมาณนี้ มีทั้ง Pass ต่างๆ ทั้งรสบัส และตั๋วเข้าสถานที่ยอดฮิต
ไม่ว่าจะเป็น ดิสนีย์แลนด์ โตเกียวทาวเวอร์ ก็มีครบ
ไปดูหน้าตาเว็บกันว่าเป็นยังไง นอกจากญี่ปุ่นแล้วยังมี อีกหลายประเทศเลยนะ
ดูข้อมูลพาสต่างๆ https://www.kkday.com/
สมัครสมาชิกกันง่ายๆ ผ่าน Facebook ก็ได้นะตัวเธอ
อย่างที่บอกกันว่ามีทั้ง ตั๋วรถต่างๆ รถไฟ รถบัส พาสต่างๆ รวมถึงตั๋วเข้าสถานที่ฮิตๆ
การชำระเงินได้ทั้งบัตรเครดิตและ Paypal ลองดูนะ มันสะดวกขึ้นเยอะ
4. แล้วพักที่ไหนดีหล่ะ เลือกยังไง
ต้องบอกว่าที่พักที่ญีปุ่นราคาค่อนข้างสูงเลยทีเดียว นุ้ยขอแบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ โฮลเทล โรงแรม และอพาร์ทเม้นต์
เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับทุนทรัพย์ในกระเป๋าของแต่ละคนเลย
สำหรับนุ้ยคงได้หรูสุดคือโฮลเทล และเป็นโฮลเทลที่ห้องสำหรับ 2 คน ถึงแม้จะห้องน้ำรวม แต่ก็สะดวกขึ้นมากหน่อย
และสิ่งที่นุ้ยใช้กำหนดเวลาเลือกที่พักคือ
– ใกล้สถานีรถไฟ (ใกล้ในทีนี้ ไม่ได้หมายความว่าติดกับสถานีรถไฟเลยนะ แต่ขอแบบเดินไม่ไกลนัก ประมาร 5-10 นาที คือรับได้)
– หาของกินง่าย ใกล้มินิมาร์
– ราคาต้องไม่เกิน 2 พัน
– เช็คคอมเม้นต์จากลูกค้าเดิมว่าเป็นยังไง คะแนนจากการรีวิวเยอะมั๊ย อย่าดูแค่รูปอย่างเดียวนะ บางทีรูปสวยแต่ได้แค่ 5/10 นี่คือไม่ไหว
5. สัญญาณอินเตอร์เน็ต และ Wifi
นุ้ยแทบจะไม่ได้หาข้อมูลของอินเตอร์เน็ตที่โน่นเลย อันที่จริง ก็ลองมองหาดูแล้วแหละ แต่ดูมันยุ่งยาก
ก็เลยเหลือแค่ 2 ตัวเลือก คือเปิดโรมมิ่ง และเช่า Pocket-Wifi สิ่งที่เป็นตัวกำหนดในทรินี้คือราคา
เพราะเท่าที่หาดู สำหรับโรมมิ่ง ที่จะเปิดไปญีปุ่่น ราคา ต่ำสุดอยู่ 300 บาทต่อวัน
ในขณะที่ Pocket-Wifi อยู่ที่วันละ 200 บาท เลยตัดสินใจเลือกเลือก Pocket-Wifi
นุ้ยใช้ ของ ซามูไร แต่มีความรู้สึก เมื่อเปรียบเทียบ กับตอนไปไต้หวันที่เปิดโรมมิ่ง รู้สึกว่าโรมมิ่งโอเคกว่า
ค่อนข้างที่จะสเถียรกว่า เพราะ Pocket-Wifi หลุดบ่อยมาก ทั้งทีใช้ต่อแค่เครื่องเดียวเท่านั้น
แต่เครื่องที่นุ้ยไปคือเครื่องรุ่นเก่า รู้สึกว่าตอนนี้จะมีเครื่องรุ่นใหม่ด้วย แต่ไม่แน่ใจว่าจะดี หรือเปล่า
6. สิ่งสำคัญที่ควรรู้ และห้ามลืม
- ค่าเงินญี่ปุ่่น โดยประมาณ 1 บาท = 3.2 เยน หรือ 1 เยน = 0.32 บาท (งงกันไปใหญ่ ถ้าคิดง่ายๆ ก็ 100 เยน เท่ากับ 32 บาทไทย)
- กระแสไฟฟ้าที่ญีปุ่น ใช้กระแสไฟฟ้า 110 V น้อยกว่าบ้านเราครึ่งหนึ่ง วิธีการดูง่ายๆ ว่า เครื่องใช้ไฟฟ้าตัวไหนจากบ้านเรานำไปใช้ได้บ้าง ให้สังเกตุตามรูปเลยค่ะ ถ้าระบุว่า 100 -240 V นั่นคือ นำไปใช้ได้ แต่ถ้าระบุ 200-240 คือใช้ไม่ได้นะคะ
- ปลั๊กไฟที่ญี่ปุ่่น ใช้ขาคู่แบบแบนเท่านั้น ซึ่งคล้ายกับบ้านเรา แต่ะบ้านเราจะมีปลั๊กไฟแบบกลมด้วย เพราะฉะนั่น อย่างลืมปลั๊กพ่วงนะค่ะ และ Universal Plug Travel Adapter
เป็นสิ่งที่จำเป็นมาก ไหนจะชาร์ตแบตมือถือ แบตกล้อง เยอะแยะ
- ยาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นยาสามัญ พาราเซตามอล ยาภูมิ แก้หวัด แก้ไอ และน้ำมันที่ใช้ทาแก้ปวดเมื่อย อ๋อ ยาธาตุ ยาลดกรดก็จำเป็นนะ เพราะญีปุ่นอาหารอร่อย อาจจะกินเยอะจนเกิดกรดได้นะ
- ควรปริ้นเอกสาร เที่ยวบิน ที่พัก และตั๋วต่างๆ ติดกระเป๋าไว้
- แม้แอพพลิเคชั่นจะมีผลเยอะกับการเดินทาง แต่แผนที่สำคัญมาก โดยเฉพาะแผนที่รถไฟ ต้องพกนะ จะทำให้เราวางแผนง่ายขึ้น
- ขึ้นบันไดเลื่อนให้ยืนชิดซ้าย หากรีบให้เดินทางขวาได้เลย
- ไม่ควรส่งเงินสดให้กับมือพนักงาน ถือว่าเป็นเรื่องไม่เหมาะสมนะจ๊ะ
- ไม่จำเป็นต้องให้ทิป เพราะส่วนใหญ่ บวกเซอร์วิสชาร์จ อยู่แล้ว
- งดพูดโทรศัพท์ขณะโดยสาร รถไฟ รถบัส หรือขนส่งสาธารณะ
- เวลาของญี่ปุ่น เร็วกว่าไทย 2 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นอย่าลืมปรับเวลา
- พระอาทิตย์ตกตั้งแต่ 4 โมงครึ่งนะจ๊ะ
****แล้วจะมาเพิ่มข้อมูลให้เรื่อยๆ นะจ๊ะ *****
สงสัย สามารถแวะไปพูดคุยสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
https://www.facebook.com/MyLifeMyTravels/